วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ข้อสอบการเป็นพลเมืองดี
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง “ หน้าที่พลเมืองและวัฒนธรรมไทย ”
คำชี้แจง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย X ทับหน้าข้อที่เห็นว่าถูกที่สุด เพียงข้อเดียว
การปฏิบัติตามกฎหมาย ทำให้เกิดผลดีอย่างไร
ก. รายได้เพิ่มขึ้น
ข. สังคมสงบสุข
ค. ได้รับยกย่องชมเชย
ง. รับบาลมีความมั่นคง
ข้อใดคือความหมายที่ถูกต้องของคำว่า จริยะ
ก. กิริยาที่สงบเรียบร้อย
ข. กิริยาที่สมควรประพฤติ
ค. กิริยาที่มีความสัมพันธ์กับจิต
ง. กิริยาที่เกิดขึ้นจากอารมณ์โดยตรง
คำใดใช้แทนความหมายของคำว่า จริยธรรม ได้
ก. การศึกษาธรรม
ข. การเผยแผ่ธรรม
ค. การประพฤติธรรม
ง. การสรรเสริญธรรม
เพราะเหตุใดคำว่า จริยธรรม จึงมีความหมายรวมไปถึงค่านิยมในด้านอื่นๆ ของสังคมด้วย
ก. ค่านิยมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม
ข. ค่านิยมเป็นสิ่งที่สังคมให้การยอมรับ
ค. ค่านิยมเป็นสิ่งที่ใช้กำหนดความดีของบุคคล
ง. ค่านิยมและจริยธรรม มีความหมายเหมือนกัน
ข้อใด ไม่ใช่ ความหมายของคำว่า คุณธรรม
ก. สิ่งที่ประเสริฐ
ข. สิ่งที่เป็นคุณงามความดี
ค. สิ่งที่นำประโยชน์มาสู่ผู้ปฏิบัติ
ง. สิ่งที่จะนำไปสู่ความสว่างที่ปราศจากความร่วมมือ
เมื่อได้เห็นคำว่า คุณธรรม เราจะนึกถึงสิ่งใดเป็นอันดับแรก
ก. กฎระเบียบของสังคม
ข. คำสั่งสอนของศาสนา
ค. ความเชื่อถือจากคนในสังคม
ง. สิ่งที่ช่วยดับกิเลสในตัวมนุษย์
มีผู้ชวนให้สมชายไปขายยาเสพติด ซึ่งครูเคยสอนว่าเป็นสิ่งที่นำความหายนะมาสู่ตนเอง และผู้อื่น สมชายจึงปฏิเสธ และไม่คบหากับผู้นั้นอีกต่อไป จากข้อความนี้แสดงว่าคุณธรรมมีความสำคัญต่อ สมชายอย่างไร
ก. ช่วยให้เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในชีวิต
ข. ช่วยให้ดำเนินชีวิตอย่างมีระเบียบวินัย
ค. ช่วยให้เป็นผู้ที่ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
ง. ช่วยให้เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา
การที่จะกล่าวว่า บุคคลมีคุณธรรมจริยธรรมนั้น ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ตัดสิน
ก. หลักศาสนา
ข. การยอมรับของสังคม
ค. คนส่วนมากในสังคมปฏิบัติ
ง. เกณฑ์ที่ผู้ปฏิบัติกำหนดไว้
คนที่ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่จะเกิดผลเสียในข้อใดอย่างชัดเจน
ก. เป็นคนเกียจคร้าน
ข. ไม่มีคนเคารพนับถือ
ค. ไม่มีผู้ใดยกย่องสรรเสริญ
ง. ผู้ร่วมงานไม่อยากร่วมงานด้วย
ถ้านักเรียนไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองจะเป็นอย่างไร
ก. เรียนไม่ดี
ข. พ่อแม่เสียใจ
ค. เพื่อนๆ รังเกียจ
ง. ถูกลงโทษ
หัวใจสำคัญของประชาธิปไตยอยู่ที่ประเด็นใด
ก. ประชาชนมีอำนาจตัดสินใจ
ข. มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
ค. รัฐสภาเป็นผู้ออกกฎหมาย
ง. รัฐบาลบริหารประเทศเพื่อประโยชน์ของประชาชน
ความต้องการพื้นฐานที่ประชาชนได้รับจากการปกครองระบอบประชาธิปไตย คืออะไร
ก. อาหาร
ข. งบประมาณ
ค. สาธารณูปโภค
ง. สิทธิและเสรีภาพ
ข้อความใดที่อาจใช้เป็นตัวอย่างของคำกล่าวที่ช่วยเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย
ก. ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ
ข. เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด
ค. พูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตำลึงทอง
ง. ใครใคร่ค้าช้างค้า ใครใคร่ค้าม้าค้า ใครใคร่ค้าเงินค้าทองค้า
คำนิยามใดตรงกับความหมายของการปกครองระบอบประชาธิปไตยมากที่สุด
ก. การปกครองโดยผู้มีอำนาจอธิปไตย
ข. การปกครองที่มีความยุติธรรม
ค. การปกครองของประชาชน เพื่อ
ประชาชน
ง. การปกครองที่สอดคล้องกับหลักคำสอนของศาสนา
กิจกรรมทางการเมืองในข้อใดที่ ไม่ สอดคล้องกับความคิดพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่ว่า ประชาชน เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
ก. การประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่
ข. การเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล
ค. การเดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำ
ง. การยึดอำนาจการปกครองโดยบุคคลคณะหนึ่งเพื่อพัฒนาประเทศให้ดีขึ้น
พฤติกรรมใดแสดงว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่มี ความมั่นคง
ก. มีการเลือกตั้งทุก 4 ปี
ข. มีพรรคการเมืองหลายพรรค
ค. เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญบ่อยๆ
ง. รัฐบาลเสียงข้างมากอยู่ในสภา
การมีระบบพรรคการเมืองแบบใด แสดงว่าระบอบประชาธิปไตยมั่นคง
ก. พรรคเดียว
ข. น้อยพรรค
ค. หลายพรรค
ง. ไม่มีพรรคการเมือง
ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญที่สุดของการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตย
ก. การยอมให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
ข. การยอมให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพอย่างเต็มที่
ค. การยอมให้ประชาชนได้เลือกตั้งผู้แทนราษฎรโดยตรง
ง. การถือว่าอำนาจอธิปไตยมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก
ตามหลักการประชาธิปไตย ข้อใดคือเหตุผลของการยุบสภาผู้แทนราษฎร
ก. เพื่อเปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่
ข. เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมือง
ค.เพื่อแก้ปัญหาการขาดเสถียรภาพของรัฐบาล
ง. เพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล กับสภาผู้แทนราษฎร
สิ่งใดเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าระบอบประชาธิปไตยของไทยพัฒนาขึ้นแล้ว
ก. พรรคการเมืองมีมากขึ้น
ข. รัฐบาลให้เงินอุดหนุนพรรคการเมือง
ค. อัตราส่วนของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสูงขึ้น
ง. ผู้สมัครรับเลือกตั้งมีจำนวนเพิ่ม
การะสำคัญที่ต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยคือเรื่องอะไร
ก. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ข. ผู้บริหารประเทศต้องมาจากการเลือกตั้ง
ค. หน้าที่ของประชาชนที่ต้องมีต่อรัฐบาลหรือผู้บริหารประเทศ
ง. ความเสมอภาคและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
อำนาจอธิปไตยในการปกครองประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญเป็นของใคร
ก. รัฐสภา
ข. คณะรัฐมนตรี
ค. พระมหากษัตริย์
ง. ปวงชนชาวไทย
วิธีการใดที่จะในไปใช้วินิจฉัยเพื่อยุติปัญหาในกรณีที่ ไม่มี บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญกำหนดไว้
ก. กฎหมายโบราณ
ข. จารีตประเพณี
ค. ประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ง. ประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเมื่อกล่าวถึงรัฐธรรมนูญ
ก. รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องชี้ว่าประเทศนั้นมีการปกครองแบบใด
ข. ทุกประเทศมีการปกครองแบบประชาธิปไตยต้องมีรัฐธรรมนูญ
ค. การที่คณะปฏิวัติทำการล้มล้างรัฐธรรมนูญได้แสดงว่ารัฐธรรมนูญไม่ใช่กฎหมายสูงสุด
ง. ประเทศใดมีรัฐธรรมนูญ ประเทศนั้นย่อมมีการเลือกตั้ง
บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล แสดงว่ารัฐธรรมนูญกำหนดความสำคัญในด้านใด
ก. กฎหมายสูงสุดของประเทศ
ข. หลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
ค. รูปแบบและโครงสร้างในการปกครองประเทศ
ง. ลักษณะการใช้อำนาจอธิปไตยของประมุข
กิจกรรมใดเป็นการถ่วงดุลการใช้อำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ
ก. ราษฎรเลือกตั้งผู้แทน
ข. นายกรัฐมนตรียุบสภาผู้แทนราษฎร
ค. ศาลพิพากษาจำคุกจำเลยที่ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
ง. ผู้แทนราษฎรกล่าวโจมตีรัฐมนตรีที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง
บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ย่อมได้รับความคุ้มครองเป็นหลักประกันของบุคคลในด้านใด
ก. สิทธิ เสรีภาพ
ข. การนับถือศาสนา
ค. ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน
ง. ครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง
ถือกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยคือสิ่งใด
ก. หลักศิลาจารึกสมัยสุโขทัย
ข. กระดิ่งที่แขวนหน้าประตูวังสมัย
กรุงสุโขทัย
ค. ตำราพิชัยสงคราม
ง. บันทึกจดหมายเหตุกรุงสยาม
สิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติต่อรัฐในฐานะพลเมืองดีเรียกว่า
ก. สิทธิ
ข. หน้าที่
ค. เสรีภาพ
ง. ภราดรภาพ
คนไทยที่มีความผิดร้ายแรงศาลจะพิพากษาโทษสถานใด มิได้
ก. ปรับ
ข. จำคุก
ค. ประหารชีวิต
ง. เนรเทศออกนอกประเทศ
ความผิดเรื่องใดจะได้รับโทษรุนแรงที่สุด
ก. กฎหมาย
ข. จารีต
ค. วิถีชาวบ้าน
ง. ศีลธรรม
ข้อใด ไม่ใช่ สถานภาพที่ได้มาด้วยความสามารถ
ก. เป็นครู
ข. เป็นผู้ที่มีความเชื่อถือ
ค. เป็นลูกของพ่อแม่
ง. เป็นผู้แทนราษฎร
ข้อใดเป็นสิ่งกำหนดสถานภาพของบุคคลในสังคม
ก. อายุ ข. ความรู้
ค. เพศ ง. ถูกทุกข้อ
สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง พ่อ แม่ ลูก คืออะไร
ก. ความรู้
ข. ความสามารถ
ค. บทบาทและสถานภาพ
ง. เพศและการประกอบอาชีพ
สถาบันใดสำคัญที่สุดในการขัดเกลาสังคม
ก. ครอบครัว
ข. กลุ่มอาชีพ
ค. กลุ่มเพื่อน
ง. ศาสนา
ประเพณีเลี้ยงข้าวลงขันโตกเป็นประเพณีของชาวไทยภาคใด
ก. ภาคใต้
ข. ภาคเหนือ
ค. ภาคตะวันตก
ง. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเพณีไทยในข้อใดเกี่ยวกับสิทธิ ความเชื่อและศาสนา
ก. ประเพณีสงกรานต์
ข. ประเพณีการเต้นรำเคียว
ค. ประเพณีตักบาตรเทโว
ง. ประเพณีการทอดผ้ามัดหมี่
ประเพณีใดที่มีเหมือนกันทุกภาค
ก. ประเพณีกำฟ้า
ข. ประเพณีขับไล่พระราหู
ค. ประเพณีการทำขวัญข้าว
ง. ประเพณีงานบวชลูกแก้ว
การทำพิธีบวงสรวงของชาวอีสานที่เรียกว่า “เลี้ยงผีปู่ย่า” เป็นความเชื่อที่ส่งผลดีในเรื่องใด
ก. ความสามัคคี
ข. การรักษาป่าไม้
ค. การรักษาเมือง
ง. การรักษาประเพณี
ประเพณีใดที่เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ก. พิธีต่ออายุ
ข. ฮีต 12 คอง 14
ค. พิธีบวงสรวงเทพผู้รักษาเมือง
ง. พิธีกรรมตามหลักโหราศาสตร์
เฉลย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง “ หน้าที่พลเมืองและวัฒนธรรมไทย ”
ข้อที่ | เฉลย |
1 | ข |
2 | ข |
3 | ค |
4 | ค |
5 | ง |
6 | ค |
7 | ง |
8 | ค |
9 | ง |
10 | ง |
11 | ข |
12 | ง |
13 | ง |
14 | ค |
15 | ค |
16 | ก |
17 | ค |
18 | ข |
19 | ก |
20 | ง |
21 | ก |
22 | ง |
23 | ข |
24 | ก |
25 | ก |
26 | ข |
27 | ก |
28 | ก |
29 | ข |
30 | ค |
31 | ก |
32 | ง |
33 | ง |
34 | ค |
35 | ก |
36 | ข |
37 | ค |
38 | ค |
39 | ง |
40 | ข |